Sucralose : ซูคราโรส สารให้ความหวาน ไม่อ้วน ไม่เพิ่มน้ำตาลในระดับเลือด



                                        Sucralose ซูคาโรส                                    

           


         ซูคราโลส (Sucralose) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งมีความหวานสูงเป็น 600 เท่าของน้ำตาลทราย ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(FDA)ให้ใช้เป็นสารให้ความหวานทั่วไปได้ (general-purpose sweetener) ซูคราโลสมีข้อดีคือ รสชาติดี คล้ายน้ำตาล ไม่มีรสขม ใช้ได้หลากหลาย ทนความร้อนในการหุงต้มและอบ เป็นสารให้ความควานที่ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับสารให้ความหวานอื่น จึงยังมีการศึกษาไม่มาก คงต้องติดตามการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ซูคราโลสในระยะยาว ต่อๆไป ปริมาณของซูคราโลส ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในคน (ADI) เท่ากับ 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

            เนื่องจากซูคราโลสมีความหวานสูงมาก ดังนั้นจึงใช้ในปริมาณน้อยมาก ทำให้จำเป็นต้องหาสารประกอบอื่นมาผสมเพื่อเพิ่มปริมาณบรรจุซอง ผลิตภัณฑ์ส่วนน้อยมีการใช้น้ำตาลแล็คโตส ซึ่งมีข้อควรระวังดังที่ได้กล่าวไปแล้ว (ดู กลุ่มที่ 2) ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะมีการใช้ร่วมกับสารให้ความหวานที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า อัลกอฮอล์ของน้ำตาล (Sugar alcohol) หรือโพลีออล (Polyols) โดยทั่วไปจะมีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทราย เช่น มอลติตอล (Maltitol) มีความหวานเท่ากับ 90-95% ของน้ำตาลทรายและให้พลังงานเท่ากับ 2.1 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม, ซอร์บิทอล (Sorbitol) มีความหวานเท่ากับ 60% ของน้ำตาลทรายและให้พลังงานเท่ากับ 2.6 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม, อิริทริทอล (Erythritol) มีความหวานเท่ากับ 70% ของน้ำตาลทรายและให้พลังงานเท่ากับ 0.2 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม สารให้ความหวานในกลุ่มอัลกอฮอล์ของน้ำตาลนี้มีข้อดีตรงที่ดูดซึมช้าและไม่สมบูรณ์ จึงไม่ทำให้มีการหลั่งอินซูลินรวดเร็วเหมือนน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลทราย จึงใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี แต่หากรับประทานในปริมาณสูงอาจทำให้ท้องเดินได้ (เช่น ซอร์บิทอล สูงกว่า 50 กรัมต่อวัน)

อาจสรุปประโยชน์ที่เป็นภาพรวมของซูคราโลสได้ดังนี้เช่น
  • เป็นสารที่ไม่สามารถทำลายโดยน้ำย่อยของร่างกายจึงส่งผลชะลอการเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากทำให้ไม่ก่อให้เกิดฟันผุเหมือนน้ำตา
  • ซูคราโลสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลตั้งแต่ 320 - 1,000 เท่า จึงใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม การใช้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้มีความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาลแล้วและส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า
  • ซูคราโลสบริสุทธิ์ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ถึง 119 องศาเซลเซียส (Celsius) หากนำมาแปรรูปเป็นผงแกรนูล (Granule, ผงหยาบเม็ดเล็กๆ) จะทนอุณหภูมิได้สูงถึง 180 องศาเซลเซียสจึงเหมาะที่จะนำมาพัฒนาเป็นเครื่องปรุงรสหวานในครัวเรือนแทนน้ำตา
                ในด้านความปลอดภัย ซูคราโลสเป็นที่ยอมรับจากคณะกรรมการอาหารและยาของหลายประเทศรวมถึงองค์การอนามัยโลก กลุ่มนักวิชาการด้านอาหารของสหภาพยุโรป และสมาคมโรคเบาหวานของแคนาดา ฯลฯ ทั้งนี้ได้มีการทดลองใช้ซูคราโลสกับมนุษย์และสัตว์ทดลองพบว่า ให้ความปลอดภัยต่อร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง ไม่ส่งผลกระทบ (ผลข้างเคียง) ต่อทั้งระบบการเจริญพันธุ์และระบบประสาทแต่อย่างใด มีบางหน่วยงานของต่างประเทศระบุว่าคนเราสามารถบริโภคซูคราโลสได้ 9 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วันโดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆมีการศึกษาเปรียบเทียบการกระจายตัวของซูคราโลสในร่างกายมนุษย์พบว่า ปริมาณซูคราโลสที่มนุษย์บริโภคเข้าไปส่วนใหญ่จะไม่ถูกดูดซึมและจะถูกขับออกไปกับอุจจาระ มีส่วนน้อยประมาณ 10 - 27% ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้บ้างซึ่งก็ถูกกำจัดออกโดยไตและผ่านทิ้งไปกับปัสสาวะปัจจุบันทางคลินิกยังไม่มีข้อสรุปเสียทีเดียวว่า ซูคราโลสจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ต้องการลดน้ำหนัก ผู้ป่วยโรคเบาหวานรวมถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือไม่นอกจากนั้นปัจจุบันยังมีการศึกษาผลกระทบของการผลิตซูคราโลสว่า จะเกิดผลกระทบต่อธรรมชาติและสภาพแวดล้อมหรือไม่อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็ถือว่าซูคราโลสน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภคทั้งในแง่สุข ภาพ และเป็นสารให้ความหวานที่มีปริมาณที่เพียงพอต่อประชากรของโลก


กลุ่มที่มี สเตวิโอไซด์ เป็นส่วนประกอบ
              กลุ่มนี้เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ใบจากต้นสตีเวีย ประกอบด้วยสารให้ความหวานหลัก คือ สเตวิออล ไกลโคไซด์ (Steviol glycoside) โดยมีสารประกอบที่มากที่สุด คือ สเตวิโอไซด์ (Stevioside) รองลงมาคือ เรเบาดิโอไซด์ เอ (Rebaudioside A) สำหรับสเตวิโอไซด์ เป็น สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งมีความหวานเท่ากับ 300 เท่าของน้ำตาลทราย ส่วน เรเบาดิโอไซด์ เอ มีความหวานมากกว่า คือหวานเป็น 450 เท่าของน้ำตาลทราย ทั้งส่วนใบและสารสกัดสเตวิโอไซด์ ทนความร้อนได้ดีถึง 200 องศาเซลเซียส จัดเป็นสารให้ความหวานซึ่งมีแคลอรี่ต่ำ จากการวิเคราะห์ พบว่าใบแห้งของต้น สตีเวีย ให้พลังงาน 2.7 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม มีการใช้ สารให้ความหวานจาก สตีเวียและสารสกัดจากใบในญี่ปุ่น เกาหลี จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในสหรัฐอเมริกาให้ใช้ผงแห้งจากใบและสารสกัดจากใบเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary supplement) เท่านั้นแต่ไม่ได้ใช้เป็นสารให้ความหวาน สำหรับ เรเบาดิโอไซด์ เอ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) จัดให้มีสถานะเป็น แกรส (GRAS) คือใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่สเตวิออลไกลโคไซด์ยังไม่ได้การรับรองในยุโรปเนื่องจากความกังวลในเรื่องความปลอดภัย ทั้งนี้สเตวิออล ไกลโคไซด์ มีค่าชั่วคราวของปริมาณที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อวัน เท่ากับ 0-4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับสเตวิโอไซด์ 0-10 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หากไม่รับประทานในปริมาณสูงเกินไป ก็อาจจะยังพอจะจัดว่าสเตวิออลไกลโคไซด์ยังปลอดภัยอยู่   ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสเตวิโอไซด์ที่พบวางจำหน่ายอยู่ คือเนื่องจากสเตวิโอไซด์มีความหวานมาก ดังนั้นปริมาณที่ใช้จึงน้อย จึงมีการใช้สารเพิ่มปริมาณ คือ มอลโตเด็กซ์ตริน เพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์ (ดู มอลโตเด็กซ์ตริน ในกลุ่มที่ 4)










ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กาแฟของพ่อ - Father's Coffee

แอลคาร์นิทีน L-Carnitine